วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


 "จำนวนการตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพราะเรามีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น  หากเป็นเพราะประชากรไทยมีอายุสูงขึ้น ประมาณว่าร้อยละ 60  ของคนที่ตายทั้งหมดในแต่ละปีเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป" 

ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์  
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 

คนไทยตายประมาณ 4 แสนกว่าคนในแต่ละปี  แต่จำนวนผู้เสียชีวิตนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต อีกราว  10-20 ปีข้างหน้า อาจจะมีคนไทยเสียชีวิตปีละกว่า  6 แสนคน ซึ่งจะเป็นจำนวนใกล้เคียง กับการเกิดทำให้ประชากรไทยไม่เพิ่มขึ้น หรืออาจมีจำนวนประชากรลดลงก็เป็นได้
อายุเฉลี่ยของประชากรไทยที่สูงขึ้นมากในช่วง30-40ปีที่ผ่านมาจากอายุเฉลี่ย 50 ปีเป็นอายุเฉลี่ย 73 ปีเนื่องจากการลดลงของการตายของทารกและเด็ก เมื่อ 40 ปีก่อน เทารกเกิดมามา 1,000 คน จะเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิดถึง 80 คน ในปัจจุบันอัตราตายทารกได้ลดลงเหลือเพียง  13 รายต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย ได้เปลี่ยนไปจากช่วงเวลา 30-40 ปีก่อนมาก ในสมัยก่อนสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการติดเชื้อทางน้ำทางอากาศหรือทางอาหารเป็นส่วนใหญ่   แต่สาเหตกุารรเสียชีวิตที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด มะเร็ง เอดส์ โรคหัวใจและความดันเลือด รวมทั้งอุบัติเหตุบนถนน โรคในปัจจุบันบางจำพวกสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดหรือการกำเริบได้ด้วยการปรับเปลี่ยนลักษณนิสัยการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลซึ่งได้แก่ การกิน การพักผ่อน และการออกกำลังกาย
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุเนื่องด้วยมีจำนวนผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10 เปอร์เซนต์ของประเทศดังนั้นการเจ็บป่วยจะมีแนวโน้มไปทางโรคของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อม โรคเกี่ยวกับกระดูกและฝัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตซึ่งต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่องซึ่งจะเพิ่มภาระการดูแลรักษาสังคมไทย

การเจ็บป่วยของคนไทย

จากสถิติผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่าโรคที่ประชากรเป็นมากที่สุด 3 อันดับดังนี้
1. โรคระบบหายใจ

 วีดีโออธิบายโรคระบบหายใจhttps://www.youtube.com/watch?v=i7ogxA47lpI

2. โรคระบบไหลเวียนเลือด
  วีดีโออธิบายโรคระบบไหลเวียนโลหิต https://www.youtube.com/watch?v=V_Y2n6Do4LU

3. โรคระบบการทางเดินอาหาร รวมโรคในช่องปาก
วีดีโออธิบายโรคระบบทางเดินอาหาร 

การเสียชีวิตของคนไทย

จากสถิติผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด 4 อันดับดังนี้
1. โรคมะเร็ง
   อาการของโรคมะเร็ง 
     สัญญาณอันตราย 7 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่ 

1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดออกผิดปกติ จากทวารต่างๆ
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนตุ่มที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
มะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุด
เพศหญิง                เพศชาย

มะเร็งปากมดลูก          มะเร็งตับ
    มะเร็งเต้านม                 มะเร็งปอด

2. อุบัติเหตุ
    อุบัติเหตุทางยานยนต์นั้นส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ เช่น การเมาแล้วขับ หรือ การพักผ่อนไม่เพียพอ วิธีการลอการเกิดอุบัติเหตุควรจะเป็นการปรับทัศนคติและการใช้ชีวิตส่วนบุคคลเช่นกัน

3. โรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดในสมอง
    คหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ภาวะสมองขาดเลือด หรือ Ischemic stroke อันเนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตันนั้นเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคหลอดเลือดสมอง โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากการอุดตันของลิ่มเลือด อันที่จริง การสร้างลิ่มเลือดนั้นเป็นกลไกที่สำคัญในการห้ามเลือด และซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย แต่ลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดหรือที่หนึ่งที่ใดอย่างผิดที่ผิดทางนั้น สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อลิ่มเลือดนั้นไปกีดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดได้อย่างสะดวก

อาการของโรค

 สมองส่วนนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติซึ่งจะมีอาการแสดงต่าง ๆ แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด  อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้ คือ 

อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้ คือ 

  • ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
  • เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
  • เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

4. โรคหัวใจ
อาการที่บ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจ
      1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 
     2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
            สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
             ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
             ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
             รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
            ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง 

โดยจากการศึกษา พบว่า ในปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุเหล่านี้ รวม 138,027 ราย คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่มีจำนวน 414,670 ราย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นการรณรงค์ตรวจสุขภาพ และเผยแพร่ความรู้ในการการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการหลีกเลี่ยงการบริโภคสิ่งที่ทำลายสุขภาพ 


ผู้จัดทำ

 


1.นางสาวญาณิภัค สดคมขำ เลขที่ 3
2.นางสาว สุภิษฐา  สนธิเดชกุล เลขที่ 7
3.นาย ทินกฤต นัยนาภากรณ์ เลขที่ 11
4.นาย พสิษฐ์  สัจจมุกดา เลขที่ 15
5.นาย รัฐพงศ์  อัมไพวรรณ เลขที่ 19